อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
สินค้า OTOP
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ บ้านนาออก
ยังไม่มีผู้ให้คะแนน

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านนาออกหรือ “ป้าติ้วแมงโก้ ที่หมู่ 5 บ้านนาออก ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา  โดยกลุ่มดังกล่าว ผลิตมะม่วงเบาแช่อิ่ม ของอร่อยยอดฮิตจากสงขลา ที่ไม่ว่าใคนมาเยือน ก็ต้องพากันซื้อกลับ เพราะไม่อาจต้านทานกับรสชาติที่แซ่บเด็ดดวงของมะม่วงลูกจิ๋ว ซึ่งผ่านกรรมวิธีแปรรูปให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน แถมกรอบโดนใจ ที่วันนี้ถูกนำมาพัฒนายกระดับด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ กลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อ จนชาวบ้านผลิตขายแทบไม่ทัน  และยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงอีกหลายรูปแบบเช่น น้ำมะม่วงพร้อมดื่ม , แยมมะม่วงสุก  ,มะม่วงอบแห้ง  ,น้ำพริกมะม่วง เป็นต้น จังหวัดสงขลา ซึ่งสร้างรายได้เข้าจังหวัดกว่า 200 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา พร้อมส่งเสริมการรวมกลุ่มเพิ่มพื้นที่ปลูก เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาด 

มะม่วงเบาของแท้ อ.สิงหนคร จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสเปรี้ยวกำลังดี ไม่เปรี้ยวจัด เนื้อกรอบ เปลือกบาง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกว่า "มะม่วงสงขลา" แต่จะมีการปลูกมากในคาบสมุทรสทิงพระ โดยเฉพาะ อ.สิงหนคร มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดกว่า 2,000 ไร่  มะม่วงเบาจะให้ผลผลิตปีละ 2 ช่วง คือ ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน และเดือนกันยายน-ตุลาคม ทำให้ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต้น บำรุงดอกต่อเนื่อง ผลผลิตต่อต้นต่อปีราว 400-600 กก. ราคาหน้าสวน อยู่ที่ กก.ละไม่ต่ำกว่า 30-80 บาท ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มเกษตรกรกว่า 20 คน หรือกว่า 100 ไร่ ทำเกษตรแบบปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการอย่างมาก และไม่เพียงพอจำหน่าย  นอกจากนี้ยังได้รวมกลุ่มแม่บ้าน นำมะม่วงเบาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย ทั้งน้ำมะม่วงเบา มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงกวน แยมมะม่วง สร้างรายได้อย่างงดงามเข้าจังหวัด กว่า 200 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ซึ่งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5  จ.สงขลา    และสำนักงานเกษตรอำเภอสิงหนคร เตรียมส่งเสริมให้เป็นพืชอัตลักษณ์สงขลา และเป็นพืช GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และเร่งให้ความรู้เกษตรกร ผลักดันให้เกิดแปลงต้นแบบในพื้นที่ ถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัย สู่เกษตรกรตั้งแต่การดูแลสวน การจัดการธาตุอาหารให้กับต้นพืช ไปจนถึงการแปรรูป และการตลาด พร้อมจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรมะม่วงเบา เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูก เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ต่อไป

แสดงความคิดเห็น